1.วัตถุประสงค์

คณะกรรมการบริษัท เป็นผู้แทนของผู้ถือหุ้น จึงมีบทบาทสําคัญต่อการสร้างมูลค่าให้กิจการรวมทั้งสร้างผลตอบแทนจาก การลงทุนให้กับผู้ถือหุ้น ซึ่งโดยทั่วไปคณะกรรมการจะมอบหมายให้ฝ่ายจัดการเป็นผู้ปฏิบัติ ดังนั้นหน้าที่หลักของคณะกรรมการ บริษัท จึงแบ่งเป็น 2 ด้าน

  1. การกําหนดทิศทาง นโยบายและกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัท เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัท จะดําเนินงานไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้น
  2. การติดตามการดําเนินงานของฝ่ายจัดการ เพื่อตรวจสอบ ถ่วงดุลและรับผิดชอบผลการดําเนินงานของบริษัท ต่อผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัท ยังมีอํานาจและความรับผิดชอบตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายข้อบังคับบริษัทและมติที่ประชุมผู้ ถือหุ้น โดยมีรายละเอียดที่สําคัญ แสดงไว้ในหัวข้อ 5 เรื่องอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบ

2.องค์ประกอบและการแต่งตั้งคณะกรรมการบริษัท

ผู้ถือหุ้นเป็นผู้พิจารณาอนุมัติแต่งตั้งกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยประธานกรรมการ รองประธานกรรมการและกรรมการอื่น มีจํานวนที่เหมาะสมกับขนาดของกิจการของบริษัท และการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ โดยเมื่อรวมแล้วมีจํานวนไม่น้อยกว่า 5 ท่าน และมีกรรมการที่มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริงจากฝ่ายบริหารและปราศจากความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือความสัมพันธ์อื่นใดอันอาจมีอิทธิพลต่อการ ใช้ดุลยพินิจอย่างเป็นอิสระไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนกรรมการทั้งหมดและต้องไม่ต่ำกว่า 3 คน

ให้คณะกรรมการบริษัท เลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการบริษัท ในกรณีที่คณะกรรมการบริษัท พิจารณา เห็นสมควรอาจจะเลือกกรรมการบริษัท คนหนึ่งหรือหลายคนเป็นรองประธานกรรมการบริษัท ก็ได้ การแต่งตั้งกรรมการบริษัท ให้เป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทและข้อกําหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้จะต้องมีความ โปร่งใสและชัดเจน โดยการพิจารณาจะต้องมีประวัติการศึกษาและประสบการณ์การประกอบวิชาชีพของบุคคลนั้นๆ โดยมี รายละเอียดที่เพียงพอเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจของคณะกรรมการบริษัทและผู้ถือหุ้น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร/กรรมการผู้จัดการ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการบริษัท โดยตําแหน่ง

 3.คุณสมบัติของคณะกรรมการบริษัท

  1. กรรมการบริษัท ต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีจริยธรรมในการดําเนินธุรกิจและมี เวลาอย่างเพียงพอที่จะอุทิศความรู้ความสามารถและปฏิบัติหน้าที่ให้แก่บริษัทได้
  2. มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัดและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องไม่มีลักษณะที่แสดงถึงการขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริหารจัดการกิจการที่มีมหาชนเป็นผู้ถือหุ้นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด
  3. กรรมการบริษัท สามารถดํารงตําแหน่งกรรมการในบริษัทอื่นได้แต่ทั้งนี้ในการเป็นกรรมการดังกล่าวต้องไม่เป็น อุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่กรรมการของบริษัทและต้องเป็นไปตามแนวทางของ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  4. กรรมการอิสระต้องมีคุณสมบัติเกี่ยวกับความเป็นอิสระตามที่บริษัทกําหนด และเป็นไปตามแนวทางเดียวกันกับ คุณสมบัติของกรรมการตรวจสอบ ตามประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่องคุณสมบัติและขอบเขต การดําเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบและต้องสามารถดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกรายได้เท่าเทียมกัน และไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ นอกจากน้ันยังต้องสามารถเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัท โดยให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระได้
    สําหรับกรรมการอิสระ บริษัทกําหนดให้หมายความถึงกรรมการที่ไม่ทําหน้าที่เป็นผู้บริหาร เป็นกรรมการที่เป็น อิสระจากฝ่ายจัดการและผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุมและเป็นผู้ซึ่งไม่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทในลักษณะที่จะให้มีข้อจํากัด ในการแสดงความเห็นที่เป็นอิสระและจะต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติม คือ :

      1. ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 1 ของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือ นิติบุคคล ที่อาจมีความขัดแย้ง โดยให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระรายนั้นๆ ด้วย
      2. เป็นกรรมการที่ไม่มีส่วนร่วมในการบริหารงาน รวมทั้งไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน หรือ ที่ปรึกษา ที่ได้เงินเดือน ประจํา หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัท บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลําดับเดียวกัน หรือนิติบุคคลที่อาจมี ความขัดแย้ง เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ก่อนได้รับการแต่งตั้ง
      3. เป็นกรรมการที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมาย ในลักษณะที่เป็น บิดา มารดา คู่สมรส พี่น้องและบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตร ของผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม หรือ บุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็นผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจควบคุมบริษัทและบริษัทย่อย
      4. เป็นกรรมการที่ไม่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือ นิติบุคคลที่อาจมี ความขัดแย้งในลักษณะที่อาจจะเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน รวมทั้งไม่เป็น หรือเคย เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่กรรมการซึ่งไม่ใช่กรรมการอิสระ หรือผู้บริหารของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือ นิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ก่อนได้รับการแต่งตั้งความสัมพันธ์ทางธุรกิจตามวรรคแรกรวมถึงการทํารายการทางการค้าที่กระทําเป็นปกติเพื่อประกอบกิจการการ เช่า หรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์รายการเกี่ยวกับสินทรัพย์หรือ บริการ หรือการให้หรือรับความช่วยเหลือทาง การเงินด้วยการรับ หรือให้กู้ยืม ค้ําประกัน การให้สินทรัพย์เป็นหลักประกันหนี้สิน รวมถึงพฤติการณ์อื่นทํานอง เดียวกัน ซึ่งเป็นผลให้บริษัท หรือคู่สัญญามีภาระหนี้ที่ต้องชําระต่ออีกฝ่ายหนึ่งตั้งแต่ร้อยละ 3 ของสินทรัพย์ที่มี ตัวตนสุทธิหรือ ตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไปแล้วแต่จํานวนใดจะต่ํากว่า ทั้งนี้การคํานวณภาระหนี้ดังกล่าวให้ เป็นไปตามวิธีการคํานวณมูลค่าของรายการที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในรายการที่เกี่ยวโยงกันโดย อนุโลม แต่ในการพิจารณาภาระหนี้ดังกล่าวให้นับรวมภาระหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่าง 1 ปี ก่อนวันที่มี ความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบุคคลเดียวกัน
      5. เป็นกรรมการที่ไม่เป็น หรือเคยเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือ นิติบุคคลที่อาจมีความ ขัดแย้งและไม่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่กรรมการซึ่งไม่ใช่กรรมการอิสระผู้บริหาร หรือ หุ้นส่วนผู้จัดการของสํานัก 3 งานสอบบัญชีซึ่งมีผู้สอบบัญชีของบริษัท บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือ นิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งสังกัดอยู่ เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ก่อนได้รับการแต่งตั้ง
      6. เป็นกรรมการที่ไม่เป๋น หรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใดๆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมาย หรือ ที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งได้รับค่าบริการเกินกว่า 2 ล้านบาทต่อปี จากบริษัท บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือ นิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ทั้งนี้ในกรณีที่ผู้ให้บริการทางวิชาชีพเป็นนิติบุคคลให้รวมถึงการเป็นผู้ถือหุ้นราย ใหญ่กรรมการซึ่งไม่ใช่กรรมการอิสระผู้บริหาร หรือ หุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ให้บริการทางวิชาชีพนั้นด้วย เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ก่อนได้รับการแต่งตั้ง
      7. เป็นกรรมการที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งขึ้น เพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของบริษัท ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท
      8. ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทําให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดําเนินงานของบริษัท

    ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการอิสระที่มีลักษณะเป็นไปตามข้อ 1) – 8) แล้วกรรมการอิสระอาจได้รับ มอบหมายจากคณะกรรมการให้ตัดสินใจในการดําเนินกิจการของบริษัท บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลําดับ เดียวกัน หรือ นิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งโดยมีการตัดสินใจในรูปแบบขององค์คณะ (collective decision) ได้

4.วาระการดํารงตําแหน่ง

กําหนดให้กรรมการบริษัท ดํารงตําแหน่งคราวละ 3 ปี และเมื่อครบกําหนดออกตามวาระ อาจได้รับพิจารณาเลือกตั้งให้ เป็นกรรมการบริษัทต่อไปได้

ในการประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจําปี ทุกครั้ง ให้กรรมการบริษัทออกจากตําแหน่งจํานวน 1 ใน 3 ของจํานวนกรรมการใน ขณะนั้น ถ้าจํานวนกรรมการจะแบงออกให้ตรงเป็นสามส่วนไม่ได้ก็ให้ออกโดยจํานวนใกล้ที่สุดกับส่วน 1ใน 3 กรรมการที่จะต้องออกจากตําแหน่งในปีแรกและปีที่สอง ภายหลังจดทะเบียนบริษัทนั้นให้จับสลากกัน ส่วนปีหลังๆ ต่อไปให้กรรมการคนที่อยู่ในตําแหน่งนานที่สุดนั้นเป็นผู้ออกจากตําแหน่ง นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระดังกล่าวแล้ว กรรมการบริษัทอาจพ้นจากตําแหน่งเมื่อ

    1. ตาย
    2. ลาออก
    3. ขาดคุณสมบัติการเป็นกรรมการบริษัท หรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยบริษัท มหาชน จํากัด หรือ มีลักษณะที่แสดงถึงการขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริหารจัดการกิจการที่มี มหาชนเป็นผู้ถือหุ้นตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 89/3 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551
    4. ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้พ้นจากตําแหน่ง (ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ (3/4) ของจํานวนผู้ถือหุ้น ซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงและมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนหุ้นที่ถือโดยผู้ถือหุ้น ที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง)
    5. ศาลมีคําสั่งให้ออก

กรรมการบริษัท คนใดจะลาออกจากตําแหน่งให้ยื่นใบลาออกต่อประธานกรรมการบริษัท

ในกรณีที่ตําแหน่งกรรมการบริษัท ว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระ ให้คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายเข้าเป็นกรรมการแทนในการประชุมคณะกรรมการคราวถัดไปเว้นแต่วาระของกรรมการผู้นั้นจะเหลือน้อยกว่า 2 เดือน โดยบุคคลซึ่งเข้าเป็นกรรมการแทนดังกล่าวจะอยู่ในตําแหน่งกรรมการได้เพียง เท่าวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการที่เข้ามาแทน

5.อํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบ

นอกจากหน้าที่หลักในฐานะผู้แทนของผู้ถือหุ้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว อํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบกรรมการบริษัท ยังเป็นไปตามที่ได้กําหนดไว้โดยกฎหมายข้อบังคับบริษัทและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งรวมถึงการดําเนินการดังต่อไปนี้

  1. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวังและความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตาม กฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น เว้นแต่ในเรื่องที่ต้องได้รับอนุมัติจากที่ ประชุมผู้ถือหุ้นก่อนการดําเนินการ เช่นเรื่องที่กฎหมายกําหนดให้ต้องได้รับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น การทํารายการ ที่เกี่ยวโยงกันและการซื้อหรือขายสินทรัพย์ที่สําคัญตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯหรือตามที่หน่วยงาน ราชการอื่นๆ กําหนด เป็นต้น
  2. พิจารณาอนุมัตินโยบายทางธุรกิจ เป้าหมายแผนการดําเนินงาน กลยุทธ์ทางธุรกิจและงบประมาณประจําปีของ บริษัท
  3. พิจารณาอนุมัติแต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามที่กําหนดในพระราชบัญญัติบริษัท มหาชน จํากัด พ.ศ.2535 และกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงประกาศข้อบังคับ และ/หรือระเบียบ ที่เกี่ยวข้องเข้าดํารงตําแหน่งกรรมการ ในกรณีที่ตําแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากออกตามวาระ
  4. พิจารณาแต่งตั้งกรรมการอิสระ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการอิสระตาม กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน รวมถึงประกาศข้อบังคับ และ/หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาแต่งตั้งเป็น กรรมการอิสระของบริษัท ต่อไป
  5. พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ โดยมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน รวมถึงประกาศข้อบังคับ และ/หรือระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ฯ
  6. พิจารณาแต่งตั้งกรรมการบริหาร โดยเลือกจากกรรมการของบริษัท พร้อมทั้งกําหนดขอบเขต อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของกรรมการบริหาร – พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยเพื่อช่วยปฏิบัติงานตามความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท
  7. พิจารณากําหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท ได้
  8. แต่งตั้งบุคคลอื่นใดให้ดําเนินกิจการของบริษัท ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการบริษัทหรืออาจมอบอํานาจ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวมีอํานาจ และ/หรือภายในเวลาตามที่คณะกรรมการบริษัทเห็นสมควร ซึ่งคณะกรรมการ บริษัทอาจยกเลิกเพิกถอน เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขอํานาจน้นๆได้
  9. พิจารณาอนุมัติการทํารายการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ เว้นแต่รายการดังกล่าวจะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ในการพิจารณาอนุมัติดังกล่าวจะเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และ/ หรือ ประกาศ ข้อบังคับ และ/หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องของตลาดหลักทรัพย์ฯ
  10. พิจารณาอนุมัติการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน เว้นแต่รายการดังกล่าวจะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ ในการพิจารณาอนุมัติดังกล่าวจะเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และ/หรือ ประกาศ ข้อบังคับ และ/ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องของตลาดหลักทรัพย์ฯ
  11. พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้น เมื่อเห็นว่าบริษัท มีกําไรพอสมควรที่จะทําเช่นนั้น และรายงานการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมผู้ถือหุ้นคราวต่อไป

6.การประชุม

  1. กําหนดให้มีการประชุมอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี โดยกําหนดวันประชุมไว้ล่วงหน้าตลอดทั้งปี และอาจมีการประชุม วาระพิเศษเพิ่มตามความจําเป็น
  2. ประธานกรรมการบริษัทและประธานกรรมการบริหาร/กรรมการผู้จัดการ จะเป็นผู้ดูแลให้ความเห็นชอบกําหนดวาระการประชุม
  3. เลขานุการ บริษัท ทําหน้าที่จัดส่งหนังสือเชิญประชุมพร้อมระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการ ประชุมไปให้กรรมการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้กรรมการมีเวลาศึกษาล่วงหน้าก่อนเข้าประชุม
  4. ประธานกรรมการบริษัท ทําหน้าที่เป็นประธานที่ประชุม มีหน้าที่ดูแล จัดสรรเวลาแต่ละวาระให้อย่างเพียงพอ สําหรับกรรมการที่จะอภิปรายแสดงความเห็นอย่างเป็นอิสระในประเด็นที่สําคัญโดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเป็นธรรม
  5. ในการประชุมกรรมการผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยนัยสําคัญในเรื่องที่พิจารณาต้องออกจากที่ประชุมระหว่างการ พิจารณาเรื่องนั้นๆ
  6. การลงมติให้ใช้เสียงข้างมากและหากมีกรรมการคัดค้านมติดังกลาาว ให้บันทึกคําคัดค้านไว้ในรายงานการประชุม
  7. ในการพิจารณาเรื่องหนึ่งเรื่องใด กรรมการมีสิทธิขอดูหรือตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง ขอให้ฝ่ายบริหารที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมชี้แจงข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม
  8. เลขานุการบริษัท ทําหน้าที่ในการจดบันทึกและจัดทํารายงานการประชุม ภายใน 14 วัน จัดเก็บรายงานการ ประชุม เอกสารประกอบการประชุม สนับสนุนติดตามให้คณะกรรมการบริษัทสามารถปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไป ตามกฎหมาย ข้อบังคับ และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น รวมทั้งประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

7.องค์ประชุม

ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ต้องมีกรรมการบริษัท มาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการบริษัท ทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ในกรณีที่ประธานกรรมการบริษัทไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ในกรณีที่มี รองประธานกรรมการบริษัทอยู่ให้รองประธานกรรมการบริษัทเป็นประธานที่ประชุม แต่ถ้าไม่มี รองประธานกรรมการบริษัท หรือมีแต่ไม่อยู่ในที่ประชุมนั้นหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการบริษัทซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการบริษัทคนหนึ่งเป็น ประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก

กรรมการบริษัทคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน เว้นแต่กรรมการบริษัท ซึ่งมีส่วนได้เสียในเรื่องใด ไม่มีสิทธิออกเสียง ลงคะแนนในเรื่องนั้น ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด