บริษัท ทราวิซโก อินโนเทค จำกัด ให้ความสำคัญและยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ตลอดจนตระหนักว่าการทุจริตคอร์รัปชั่นนอกจากจะส่งผล กระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ชื่อเสียง และภาพลักษณ์ของบริษัทแล้ว ยังเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ และการพัฒนาของประเทศชาติเป็นอย่างมาก

ในฐานะที่บริษัทดำเนินธุรกิจเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและมุ่งหวังให้ประเทศไทยปราศจากการทุจริตคอร์รัปชั่น บริษัทฯจึงได้กำหนด “มาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น” ฉบับนี้ เพื่อเป็นแนวทางให้บุคลากรทุกคนของบริษัทยึดถือใน การปฏิบัติงาน ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องได้รับทราบเจตนารมณ์และแนวทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ

นโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นถือเป็นส่วนหนึ่งของวินัยในการปฏิบัติงาน กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่ไม่ปฏิบัติตามย่อมถูกสอบสวนและพิจารณาโทษทางวินัยตามระเบียบของบริษัทฯ กฎบัตร และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง   ในขณะเดียวกัน บริษัทฯ จะไม่ลดตำแหน่ง ลงโทษ หรือให้ผลทางลบต่อกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่ปฏิเสธการทุจริตคอร์รัปชั่น แม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้บริษัทสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ

1. นิยาม
            บริษัท หมายถึง บริษัท ทราวิซโก อินโนเทค จำกัด

            กลุ่มบริษัท หมายถึง บริษัท ทราวิซโก อินโนเทค จำกัด บริษัทย่อย และบริษัทร่วม

            บุคลากรของบริษัท หมายถึง กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท

            กรรมการ หมายถึง กรรมการของบริษัท

            ผู้บริหาร หมายถึง ผู้บริหารของบริษัทตั้งแต่ระดับประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงาน ขึ้นไป

            พนักงาน หมายถึง พนักงานลำดับถัดลงมาจากผู้บริหาร ทั้งที่เป็นพนักงานประจำพนักงานสัญญาจ้างพิเศษ และ พนักงานชั่วคราวของบริษัท

            คู่ค้า หมายถึง คู่ค้าจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สถาบันการเงิน ส่วนราชการ ผู้จัดหาสินค้าและบริการให้กับ บริษัท ผู้ออกแบบ ที่ปรึกษา ผู้รับเหมา ผู้รับเหมาช่วง

            ผู้มีส่วนได้เสีย หมายถึง ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า เจ้าหนี้ พนักงาน คู่แข่งทางการค้า ภาครัฐ ตลอดจนองค์กรและผู้ที่ เกี่ยวข้องอื่นๆ ในสังคม เช่น ชุมชนท้องถิ่น

            การทุจริตคอร์รัปชั่น หมายถึง การเสนอ การสัญญา การมอบ การเรียกร้อง การให้ หรือการรับสินบนหรือ ผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับเงิน หรือประโยชน์อื่นๆ ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือการกระทำพฤติกรรม ใดๆ ที่ส่อไปในทางทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งธุรกิจหรือเพื่อรักษาหรือแนะนำธุรกิจให้กับบริษัทใดโดยเฉพาะ หรือเพื่อรักษาผลประโยชน์อื่นใดที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือไม่เหมาะสมตามจรรยาบรรณและนโยบายการกำกับดูแลกิจการ

            การช่วยเหลือทางการเมือง หมายถึง การช่วยเหลือทางการเงินหรือในรูปแบบอื่น ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง เช่น การให้กู้เงิน การให้สิ่งของหรือบริการ การโฆษณาสนับสนุนพรรค การเมือง การบริจาคเงินเพื่อร่วมกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพรรคการเมืองในลักษณะ ก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่างตอบแทนในทางมิชอบ เป็นต้น

2. นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

ห้ามกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ เรียกร้อง ดำเนินการ หรือยอมรับการทุจริตคอร์รัปชั่น ในทุกประเทศและทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ธุรกิจของบริษัทเข้าไปเกี่ยวข้อง โดยร่วมกันส่งเสริม ค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริต และความรับผิดชอบให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร ทั้งนี้ ให้นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นมีเนื้อหาครอบคลุมถึงการดำเนินการของบริษัทในเรื่องดังต่อไปนี้

          2.1 บริษัทฯ จัดให้มีการประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของบริษัทและจัดทำมาตรการปฏิบัติที่ สอดคล้องกับความเสี่ยงนั้นและเป็นไปตามระบบควบคุมภายใน

          2.2 บริษัทฯ จัดทำขั้นตอนปฏิบัติซึ่งมีรายละเอียดที่เพียงพอต่อการนำไปปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายนี้ที่สามารถป้องกันการเกิดทุจริตคอร์รัปชั่นในการดำเนินธุรกิจ

          2.3 บริษัทฯ จัดให้มีการปฐมนิเทศและการฝึกอบรมให้แก่บุคลากร เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ นโยบาย มาตรการ และขั้นตอนปฏิบัติในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

          2.4 บริษัทฯ จัดให้มีระบบควบคุมภายในเพื่อให้มั่นใจในประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งครอบคลุมถึงกระบวนการเก็บบันทึกข้อมูลทางการเงิน การบัญชี กระบวนการบริหารทุนมนุษย์ และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของบริษัท

          2.5 บริษัทฯ จัดให้มีการรายงาน การติดตาม และการทบทวนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการ ทุจริตคอร์รัปชั่น โดยมีขั้นตอนการดำเนินการที่เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจได้ว่านโยบายมีความ ครบถ้วน เพียงพอ และทันต่อสถานการณ์

          2.6 บริษัทฯ จัดให้มีช่องทางในการสื่อสารที่ปลอดภัยให้บุคลากรของบริษัทและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย สามารถขอคำแนะนำ แจ้งเบาะแส ข้อเสนอแนะ หรือร้องเรียนกรณีเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยมีมาตรการคุ้มครองสิทธิให้แก่บุคคลดังกล่าว

          2.7 บริษัทฯ จัดให้มีการสื่อสารนโยบายในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นทั้งภายในและภายนอกบริษัท เพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามในวงกว้าง ซึ่งรวมไปถึงการแจ้งให้บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทอื่นที่บริษัทมีอำนาจในการควบคุม และตัวแทนทางธุรกิจ นำนโยบายในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของบริษัทไปปฏิบัติ

          2.8 บริษัทฯ ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างบริษัทอื่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันกับบริษัท รวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อเป็นแนวร่วมปฏิบัติและเข้าร่วมในกิจกรรมต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นซึ่งจัดขึ้นโดยบริษัท สมาคม หอการค้า หรือหน่วยงาน กำกับดูแลอื่นๆ

3. มาตรการปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชั่นที่อาจเกิดขึ้นต่อบริษัท กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ของบริษัทต้องปฏิบัติตามนโยบายดังต่อไปนี้

          3.1 นโยบายการมีส่วนร่วมทางการเมือง

                3.1.1 บริษัทฯ มีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่มีนโยบายให้การช่วยเหลือทางการเมืองหรือ กระทำการอันเป็นการฝักใฝ่พรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองใดๆ

               3.1.2 บุคลากรของบริษัทฯ มีสิทธิและเสรีภาพตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้อง เช่น การใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

               3.1.3 บุคลากรของบริษัทฯ ต้องไม่ใช้ทรัพย์สินของบริษัทหรือให้บริการในนามของบริษัทเพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง หรือกระทำการใดๆ อันก่อให้เกิดความเข้าใจว่าบริษัทมีส่วนเกี่ยวข้องหรือให้การสนับสนุนพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองใดๆ

          3.2 นโยบายการบริจาคเพื่อการกุศล การบริจาคเพื่อการกุศลทุกประเภทต้องมีลักษณะดังนี้

               3.2.1 ดำเนินการอย่างถูกต้อง เปิดเผย และโปร่งใส โดยไม่ขัดต่อหลักศีลธรรม เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติของบริษัท และต้องไม่ขัดแย้งกับระเบียบราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

               3.2.2 สอดคล้องกับนโยบายด้านสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการพัฒนาสู่ความยั่งยืนของบริษัทฯ หรือเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

               3.2.3 ไม่ใช้เป็นข้ออ้างสำหรับเอื้อโอกาสการคอร์รัปชั่น

               3.2.4 ไม่มีวัตถุประสงค์แอบแฝงเพื่อสร้างความได้เปรียบหรือสร้างแรงจูงใจในการเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ

               3.2.5 ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ของบริษัท

               3.2.6 การบริจาคหรือความช่วยเหลือต้องจัดทำบันทึกขออนุมัติโดยระบุวัตถุประสงคแ์ละชื่อ บุคคล/หน่วยงานผู้รับบริจาคหรือรับการสนับสนุนอย่างชัดเจนพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อการสอบทานและนำเสนอผู้มีอำนาจของบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติก่อนดำเนินการ

          3.3 นโยบายเกี่ยวการใช้เงินสนับสนุน การใช้เงินสนับสนุนทุกประเภทต้องมีลักษณะดังนี้

               3.3.1 ดำเนินการอย่างถูกต้อง เปิดเผย และโปร่งใส โดยไม่ขัดต่อหลักศีลธรรม เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติของบริษัท

               3.3.2 สอดคล้องกับนโยบายการจัดซื้อจัดจ้าง หรือกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสู่ความยั่งยืนของบริษัท หรือเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

               3.3.3 ไม่ใช้เป็นข้ออ้างสำหรับเอื้อโอกาสการคอร์รัปชั่น

               3.3.4 ไม่มีวัตถุประสงค์แอบแฝงเพื่อสร้างความได้เปรียบหรือสร้างแรงจูงใจในการเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ 3.3.5 ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ของบริษัทฯ

               3.3.6 ต้องจัดทำบันทึกขออนุมัติใช้เงินที่ไดร้ับการสนับสนุน โดยระบุวัตถุประสงค์การใช้เงินสนับสนุน  แนวทางการใช้เงินพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อการสอบทานและนำเสนอผู้มีอำนาจของบริษัทฯพิจารณาอนุมัติก่อนดำเนินการ

          3.4 นโยบายการรับและให้ของขวัญ บริการต้อนรับ หรือประโยชน์อื่นๆ การรับและใหข้องขวัญ บริการต้อนรับ หรือประโยชน์อื่นใด สามารถกระทำได้โดยต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

               3.4.1 ดำเนินการอย่างถูกต้อง เปิดเผย และโปร่งใส โดยไม่ขัดต่อหลักศีลธรรม เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติิของบริษัทฯ และต้องไม่ขัดแย้งกับระเบียบหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

               3.4.2 มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ เทศกาล และขนบธรรมเนียมประเพณีในแต่ละท้องถิ่น

               3.4.3 ไม่ใช้เป็นข้ออ้างสำหรับเอื้อโอกาสการคอร์รัปชั่น

               3.4.4 ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ของบริษัท

               3.4.5 ห้ามรับหรือให้ของขวัญ บริการต้อนรับ หรือประโยชน์อื่นๆ หากการกระทำเหล่านั้นจะมี ผลกระทบเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัทฯ

ทั้งนี้ เพื่อให้มาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นนำไปสู่การปฏิบัติอย่างทั่วถึงทั้งองค์กร บริษัทฯ จัดให้มี กระบวนการสนับสนุนเพื่อป้องกันการเกิดทุจริตคอร์รัปชั่นที่เพียงพอ ได้แก่ กระบวนการในการตรวจสอบงานขายและการตลาด การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารงานบุคคล การเงินและการบัญชี เป็นต้น โดยกำหนดให้ระเบียบปฏิบัติภายในองคก์รให้มีการควบคุมภายในที่ครอบคลุมการป้องกันการเกิดทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างมีประสิทธิภาพ

4. กระบวนการบันทึกและเก็บรักษาข้อมูล

กระบวนการบันทึกและเก็บรักษาข้อมูลทางการเงินและบัญชีของบริษัทฯ ต้องเป็นไปอย่างถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ โดยมีระบบควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในอย่างมีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานตรวจสอบภายใน

สำหรับแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการบันทึกและเก็บรักษาข้อมูลให้เป็นไปตามจรรยาบรรณและ นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามที่ประกาศในระเบียบ และนโยบายที่เกี่ยวข้อง

5. การสื่อสารและการฝึกอบรม

          5.1 การสื่อสาร

               5.1.1 จัดให้มีการสื่อสารนโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นให้แก่ผู้มีส่วน เกี่ยวข้องรับทราบ ประกอบด้วย กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทอื่นที่บริษัทมีอำนาจในการควบคุม ตัวแทนทางธุรกิจ และคู่ค้า

               5.1.2 จัดให้มีการสื่อสารบทลงโทษ หากไม่ปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชั่น รวมทั้งสื่อสารนโยบายเกี่ยวกับการไม่ลดตำแหน่ง ลงโทษ หรือให้ผลทางลบ ต่อกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่ปฏิเสธการทุจริตคอร์รัปชั่น แม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้บริษัทสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน

               5.1.3 จัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนเกี่ยวกับนโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชั่นของบริษัทฯ

ทั้งนี้ เมื่อมีการจัดทำหรือปรับปรุงนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง ให้มีการสื่อสารและเปิดเผยข้อมูลทุกครั้งตามช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม อาทิ จดหมาย อีเมล เว็บไซต์ อินทราเน็ต สื่อสิ่งพิมพ์ แผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

          5.2 การฝึกอบรม

               5.2.1   จัดให้มีการปฐมนิเทศและฝึกอบรมเกี่ยวกับนโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชั่นให้แก่กรรมการ พนักงาน และผู้บริหาร

              5.2.2   สนับสนุนให้กรรมการและผู้บริหารมีส่วนในการให้ความรู้แก่พนักงาน เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

6. การแจ้งเบาะแสและการขอรับคำแนะนำ

การแจ้งเบาะแส

เมื่อพบเห็นการกระทำที่สงสัยว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชั่น กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน มีหน้าที่แจ้งเบาะแสมายังช่องทางการสื่อสารดังต่อไปนี้

นักลงทุนสัมพันธ์ โทรศัพท์: (02)  171-9999

อีเมล: [email protected]

ไปรษณีย์:  นักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท ทราวิซโก อินโนเทค จำกัด 1355 อาคาร ทีทีซี พารค์ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนพระราม 9  แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

ในกรณีต้องรายงานประเด็นที่พบอย่างเร่งด่วน กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน มีหน้าที่แจง้ให้ ผู้บริหารระดับสูงหรือคณะกรรมการบริษัทรับทราบ

ทั้งนี้ เงื่อนไขและการพิจารณาเบาะแสรวมถึงการคุ้มครองสิทธิพนักงาน ลูกจ้าง หรือบุคคลอื่นที่รับจ้าง ทำงานให้แก่บริษัท ให้เป็นไปตามจรรยาบรรณและนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี

สำหรับผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ สามารถแจ้งเบาะแสมายังช่องทางการสื่อสารข้างต้นเช่นกัน

การขอรับคำแนะนำ 

หากกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน หรือผู้มีส่วนได้เสียใดๆ มีข้อสงสัยเกี่ยวกับนโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น สามารถซักถามหรือขอรับคำแนะนำเบื้องต้นได้ที่

ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ โทรศัพท์: (02) 171-9999

อีเมล: [email protected]

ไปรษณีย์: นักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท ทราวิซโก อินโนเทค จำกัด 1355 อาคาร ทีทีซี พารค์ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนพระราม 9 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

7. การดูแลให้มีการปฏิบัติตาม

เพื่อให้มั่นใจว่านโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นจะได้รับการนำไปปฏิบัติอย่างทั่วถึงทั้งองค์กร และมีการกำกับดูแลที่ชัดเจน บริษัทฯ จึงกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคคลหรือหน่วยงาน ดังต่อไปนี้

คณะกรรมการบริษัท :

  • จัดให้มีนโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เป็นปัจจุบัน เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และปัจจัยเสี่ยง โดยทบทวนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • กำหนดขอบเขตของมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เพียงพอ สนับสนุนและกำกับดูแลให้บริษัท ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับมาตรการดังกล่าว
  • พิจารณารายงานเกี่ยวกับการดำเนินงานตามนโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
  • พิจารณาประเด็นเร่งด่วนเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่นเพื่อกำกับดูแลให้มีการดำเนินการที่ทันต่อสถานการณ์

ฝ่ายจัดการ:

  • จัดให้มีกลไกและระบบควบคุมภายในที่สนับสนุนการดำเนินการตามนโยบายและมาตรการต่อต้านการ ทุจริตคอร์รัปชั่น
  • นำเสนอประเด็นเร่งด่วนเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่น (ถ้ามี) ต่อคณะกรรมการบริษัท
  • จัดให้มีการรายงานผลการตรวจสอบตามนโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นต่อ คณะกรรมการบริษัทรับทราบอย่างสม่ำเสมอ
  • สนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการ ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

ฝ่ายบริหารงานบุคคล:

  • จัดให้มีกระบวนการบริหารทุนมนุษย์ที่สะท้อนความมุ่งมั่นของบริษัทต่อการปฏิบัติตามนโยบายและ มาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
  • สื่อสารนโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นแก่ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึง
  • ติดตามและจัดเก็บแบบรับทราบและถือปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นที่บุคลากรของ บริษัทลงนามแล้ว

ตรวจสอบภายใน:

  • สอบทานระบบควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน และการประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริต คอร์รัปชั่น ก่อนรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท รวมทั้งแจ้งและติดตามผลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจว่าฝ่ายจัดการได้มีการปรับปรุงแก้ไขในประเด็นดังกล่าวแล้ว
  • จัดทำรายงานเกี่ยวกับการดำเนินงานตามนโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น เพื่อรายงาน ต่อคณะกรรมการบริษัท

สำนักเลขานุการ:

  • ประสานงานกับหน่วยงานกำกับดูแล แลกเปลี่ยนความรู้กับหน่วยงานอื่น เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนางาน ด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
  • ประสานงานและสื่อสารขอบเขตมาตรการที่คณะกรรมการบริษัทกำหนด เพื่อให้ฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องนำ ไปดำเนินการ
  • ให้คำแนะนำเกี่ยวกับนโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในเบื้องต้น รวมทั้ง ประสานงานหรือหารือกับฝ่ายงานอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้องในการให้คำแนะนำที่ถูกต้อง ครบถ้วน และ ชัดเจน

8. บทลงโทษ

นโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นถือเป็นส่วนหนึ่งของวินัยในการปฏิบัติงาน กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่ไม่ปฏิบัติตามย่อมถูกสอบสวนและพิจารณาโทษทางวินัยตามระเบียบของบริษัทฯ กฎบัตรและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจรวมถึงการเลิกจ้าง

อนึ่ง บริษัทฯ จะไม่ลดตำแหน่ง ลงโทษ หรือให้ผลทางลบต่อกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ที่ปฏิเสธการทุจริตคอร์รัปชั่น แม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้บริษัทสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ

ทั้งนี้ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2563 เป็นต้นไป

 

 

( นายณัฐเศรษฐ วงศ์วัฒนากานต์ )

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร/กรรมการผู้จัดการใหญ่